Bitazza Global ได้ทำการเปิดเผย Whitepaper 2.0 ขึ้นโดยอธิบายโรดแมปของบริษัทหลังจากนี้จะใช้กลไกของ เหรียญ BTZ และ USDF เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการเชื่อมโลกการเงินดั้งเดิมเข้ากับโลกการเงิน Decentralized รวมถึงการบุกตลาดโลกอย่างเต็มตัว
อ่าน Bitazza Whitepaper2.0 ฉบับเต็มได้ที่นี้ และฟังคลิป AMA ได้ที่นี้
Painpoint ของ Stablecoins ในปัจจุบัน
แม้ปัจจุบันจะมี Stablecoins รูปแบบใหม่เกิดขึ้นทั้งแบบที่ใช้คริปโตเป็นหลักประกันอย่างเช่น Dai และรูปแบบ Algorithmic Stablecoins อย่างเช่น UST แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือความผันผวนในระดับที่สูง และยังสร้างปัญหามากมายเช่นกรณีที่เกิดขึ้นกับเหรียญ TITAN และ OHM
จากบทวิจัยเรื่องความผันผวนของ Stablecoins มีข้อสรุปว่าเหรียญที่ใช้เงินสดที่เป็นสกุลเงิน Fiat เป็นหลักประกัน 100% จะมีความผันผวนน้อยที่สุด แม้ว่าเหรียญ Dai ที่ใช้คริปโตเป็นหลักประกัน 150% ยังมีความผันผวนที่สูงกว่า
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : เปิดขั้นตอนการโอนเหรียญจาก BITAZZA ไปยัง EXCHAGE นอกแบบค่าธรรมเนียมถูกที่สุด
Native Token ที่ยังจำกัดมีการใช้งานที่จำกัด
โทเคนที่สร้างโดยศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลหรือ Exchange ในปัจจุบันมีข้อจำกัดการใช้งานที่สามารถใช้เป็น Utility Token ได้เฉพาะภายในแพลตฟอร์มของตัวเองเท่านั้นมีเพียงแค่ BNB ที่มีการใช้งานที่หลากหลายนอกแพลตฟอร์มโดยการใช้ชำระค่าสินค้าและบริการได้

แต่ BTZ Token ซึ่ง Bitazza Global เป็นเจ้าของนอกจากการใช้งานภายในแพลตฟอร์มแล้วยังสามารถนำมาใช้กับบัตรเครดิต ชำระค่าสินค้าและบริการตลอดจน Digital Wallet ได้ซึ่งเหนือกว่าโทเคนของแพลตฟอร์มอื่น
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเหรียญ LUNA และ UST
ช่วงที่ผ่านมาบล็อกเชนค่าย Terra ได้รับความนิยมจากนักลงทุนเป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่นำเหรียญ Stablecoins อย่าง UST มาทำการฝากไว้กับแพลตฟอร์ม DeFi ที่ชื่อว่า Anchor และได้ผลตอบแทน 20% แบบ Fix Rate ผลตอบแทนที่สูงเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารทั่วไป
ประกอบกับเหรียญ UST และ LUNA ซึ่งเป็นโทเคนหลักของ Terra Chain มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในเชิงกลไกราคา การที่มีความนิยมในการถือเหรียญ UST มากขึ้นทำให้ซัพพลายของเหรียญ LUNA ลดลง เป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาเหรียญ LUNA พุ่งอย่างต่อเนื่องและจำนวนเหรียญ UST กว่า 75% ถูกฝากไว้ใน Anchor
แต่นั่นกลายเป็นจุดอ่อนที่เกิดขึ้นกับ UST ซึ่งถูกตั้งไว้ว่าจะเป็น Stablecoins ที่ถูกนำไปใช้งานในระบบเศรษฐกิจจริงผ่านเครือค่าย Payment อย่าง CHAI แต่กลับกลายเป็นว่าการใช้งาน UST กว่า 75% ถูกนำไปใช้สร้างผลตอบแทนการลงทุนแทนที่จะนำไปใช้ในการชำระเงิน

BTZ และ USDF คือกลไกสำคัญของ Bitazza Ecosystem
เหรียญ BTZ ซึ่งเป็น Native Token ของแพลตฟอร์ม Bitazza และ USDF ซึ่งเป็น Stablecoins ในระบบของ Bitazza แม้จะมีโมเดลที่คล้ายกับเคสของเหรียญ LUNA และ UST ซึ่งเหรียญหนึ่งเป็นเหรียญที่มีมูลค่าคงที่และอีกเหรียญมีมูลค่าที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ แต่ด้วยระบบที่สร้างขึ้นจะเป็นการปิดจุดอ่อนที่เคยเกิดขึ้นกับ UST และ LUNA โดยจะเน้นการใช้งานในเศรษฐกิจจริงอย่างเช่นการนำไปใช้ในการชำระเงิน
ทั้งนี้ USDF สร้างขึ้นโดยมี Fiat Currency หนุนหลัง 100% โดยหลังจากที่ผู้ใช้งานมีการฝากเงินเข้าไปใน Freedom Card หรือ Freedom Wallet ซึ่งเงินดังกล่าวจะเข้าไปอยู่ในบัญชีผู้ดูแลผลประโยชน์หรือ Escrow Account ซึ่งจะเป็นคนกลางแลกเปลี่ยน

จากนั้น Freedomverse ก็จะสร้างเหรียญ USDF ขึ้นในมูลค่าเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ใช้งานฝากเข้ามาและมีสกุลเงินดอลลาร์ค้ำประกัน 100% และส่งเข้าไปในบัญชี Freedom Card หรือ Freedom Wallet เพื่อนำไปใช้จ่ายตามร้านค้าต่างๆที่มีสัญลักษณ์ Visa
ทั้งนี้ Bitazza จะทำการค่อยๆเปลี่ยนผ่านสินทรัพย์ค้ำประกันเหรียญ USDF จาก Fiat Currency มาเป็น Cryptocurrency ซึ่งจะใช้ทั้ง Stablecoins และเหรียญที่มีมาร์เกตแคปอันดับต้นๆมาเป็นหลักค้ำประกันอยู่ที่ ไม่เกิน 20% และอีก 80% จะยังเป็น Fiat Currency จากนั้นในเฟสที่สามก็จะสามารถนำ USDF มาแลกเป็นเหรียญ BTZ ได้ที่มูลค่า 1 ดอลลาร์ โดยผู้ที่ต้องการจะแลกเปลี่ยนต้องล๊อกเหรียญ BTZ เอาไว้ตามเวลาที่กำหนด

ทั้งนี้ก่อนที่จะเปลี่ยนผ่านสินทรัพย์ค้ำประกัน USDF ในแต่ละครั้งจะพิจารณาจากมูลค่าธุรกรรมและมูลค่าตลาดของ Bitazza ที่เติบโตขึ้นเพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพของ USDF ให้มากที่สุดและเป็นการเติบโตที่เป็นไปอย่าง Organic Growth
โดยเครื่องมือที่จะผลักดันให้เกิดการใช้งานเหรียญ BTZ และ USDF ก็คือธุรกรรมการ Payment ผ่านร้านค้าต่างๆ แม้จะดูว่าเป็นแนวทางแบบดั้งเดิมแต่ถือว่าเป็นการนำทั้งสองเหรียญไปใช้งานในระบบเศรษฐกิจจริงที่จับต้องได้ ต่างจากโปรเจกต์อื่นๆที่เน้นแจกเหรียญให้ผลตอบแทนสูงๆแต่ไม่ได้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมารองรับ
Freedom Card และ Freedom Wallet
Freedom Card คือ Prepaid Debit Card ซึ่งมีความร่วมมือกับบริษัทชำระเงินระดับโลกอย่าง Visa โดยสามารถเติมเงินเข้าไปในบัตรผ่านทางแอปพลิเคชั่น Bitazza และนำไปใช้จ่ายได้กับร้านค้าที่มีตราสัญลัษณ์ Visa ทั่วโลกกว่า 200 ประเทศ โดยผู้ที่ทำการวาง Staking เหรียญ BTZ เอาไว้จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆเช่น Cash Back ตามจำนวน BTZ ที่ทำการ Stake เอาไว้
โดยอัตราการจ่าย Cash Back ของ Freedom Card จะอยู่ระดับสูงสุด 10% ซึ่งสูงกว่าอัตราของ crypto.com และ Binance Card ซึ่งจ่ายสูงสุดที่ 8%ส่วน Freedom Wallet คือกระเป๋าสตางค์อีเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้ร้านค้าต่างๆสามารถรับการชำระเงินด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลได้

ทั้ง Freedom Card และ Freedom Wallet จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการกระจายการใช้งาน BTZ และ USDF ซึ่งเป็นระบบการเงินกระจายศูนย์ (DeFi) ออกไปยังระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมหรือ CeFi
การปรับโครงสร้างซัพพลายของ BTZ Token ใหม่
ใน Whitepaper 2.0 ยังได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างซัพพลายของเหรียญ BTZ ใหม่โดยจะเปลี่ยนจากแผนเดิมที่จะมีการเผาเหรียญ (Burn) เมื่อมีการใช้งานที่มากขึ้นเพื่อลดจำนวนซัพพลายเหรียญลง (Buy Back And Burn) เปลี่ยนมาเป็น Bitaaza จะทำการซื้อเหรียญคืนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อ (Buy Back And Make) โดยรายได้ที่เกิดขึ้นจากภายในระบบจะนำไปใช้ซื้อเหรียญ BTZ มาให้กับผู้ที่ทำงานในเครือข่ายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปและยังเป็นการลดซัพพลายในตลาดรองลง

สาเหตุที่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายเนื่องจากปัญหาของโมเดลการเผาเหรียญทิ้งเป็นการเพียงแค่การลดซัพพลายแต่ไม่ได้ทำให้เกิดดีมานด์การใช้งานขึ้นมาด้วย ซึ่งการที่จะทำให้มูลค่าของเหรียญ BTZ เติบโตได้อย่างยั่งยืนจะต้องมีการสร้างทั้งฝั่งดีมานด์และลดซัพพลายไปในเวลาเดียวกัน
โดย Bitazza Global จะใช้โมเดลที่เรียกว่าซื้อคืน แจกจ่ายซ้ำและส่งสัญญาณ โดยหลังจากที่ได้มีการแจกเหรียญ BTZ ให้กับพาร์ทเนอร์ธุรกิจ เมื่อมีการใช้งานเกิดขึ้น Bitazaa จะนำรายได้จากค่าธรรมเนียมซื้อขายและการทำธุรกรรมมาซื้อเหรียญ BTZ คืน

จากนั้นก็จะเปิดให้ผู้มีส่วนร่วมและพาร์ทเนอร์นำเหรียญ BTZ มาทำการ Staking โดยผู้ที่เลือกฝากในระยะเวลาที่นานกว่าก็จะได้รับผลตอบแทนมากกว่าคนที่ฝากในระยะสั้นเท่ากับเป็นการส่งสัญญาณถึงผู้มีส่วนร่วมว่ามีผู้ซึ่งมั่นใจในการเติบโตของบริษัทมากน้อยเพียงใด
แผนการขยายธุรกิจของ Bitazza Global
Bitazza Global มีแผนที่จะขยายตลาดไปยังภูมิภาคอื่นๆทั่วโลกโดยแบ่งเป็นสองตลาดคือกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาซึ่งจะประกอบไปด้วยกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเวียดนามและฟิลิปปินส์ กลุ่มประเทศในแอฟริกาอย่างอาร์เจนติน่า โคลอมเบียและเวเนซูเอล่า กลุ่มประเทศแอฟริกาอย่างเคนย่า ไนจีเรียและโตโก รวมถึงกลุ่มประเทศในเอเชียใต้อย่างปากีสถาน บังคลาเทศและศรีลังกา
กลุ่มประเทศเหล่านี้คนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางธนาคารได้ซึ่ง Bitaaza Global จะเจาะเข้าไปให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัลกับประเทศเหล่านี้

รวมถึงกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและมีนโยบายเป็นมิตรกับคริปโตอย่างเช่นในยุโรปคือประเทศสเปนและโปรตุเกสรวมถึงออสเตรเลีย ประเทศเหล่านี้มีกฎหมายที่รองรับการใช้งานคริปโตซึ่ง Bitazza Global จะเข้าไปเจาะตลาดในประเทศเหล่านี้ด้วย
โดยการบุกตลาดจะเป็นการจับมือร่วมกับพันธมิตรในประเทศเหล่านั้นที่มีใบอนุญาตการประกอบธุรกิจด้านคริปโตและจะนำเหรียญ BTZ จำนวน 1,500 ล้านเหรียญกระจายลงไปในประเทศที่เข้าไปดำเนินธุรกิจเหล่านี้
โปรดักต์อื่นๆของ Bitazza
นอกจากฟีเจอร์อย่างการวาง Staking เหรียญ BTZ รวมถึงฟีเจอร์ด้าน Payment อย่าง Freedom Card และ Freedom Wallet และฟีเจอร์ที่ช่วยในการปัดเศษเหรียญให้เป็น BTZ ทาง Bitazza Global ยังมีแผนที่จะเปิดตัวโปรดักต์อย่าง Futures และ Options รวมถึงบริหารสินทรัพย์ ในเร็วๆนี้ซึ่งจะเป็นการเพิ่ม Use Case ในการใช้งาน BTZ เพิ่มขึ้น
สรุปคือการเติบโตของ Bitazza หลังจากนี้ไปจะใช้กลไกของเหรียญ BTZ และ USDF ผ่านทางธุรกรรม Crypto Payment ซึ่งจะถูกกระจายการใช้งานออกไปทั่วโลกรวมถึงโปรดักต์การลงทุนต่างๆภายในแพลตฟอร์ม ถ้าหากแผนการขยายงานไปตามประเทศต่างๆรวมถึงจำนวนผู้ใช้งานที่เติบโตขึ้น มูลค่าของเหรียญ BTZ ก็จะเติบโตขึ้นตามการใช้งานจริงในระบบเศรษฐกิจไม่ใช่สร้างแรงจูงใจในแง่ของผลตอบแทนการลงทุนซึ่งเป็นจุดอ่อนของ DeFi Protocol ในช่วงที่ผ่านมา
สมัครใช้งาน Bitazza ได้ที่นี้